การเริ่มต้นใช้งาน ปั้มน้ำและปั้มดับเพลิง

                            คู่มือการเริ่มต้นใช้งาน ปั๊มน้ำและปั๊มดับเพลิง


1. ตรวจดูเครื่องสูบน้ำยังอยู่ปกติ (ไม่หาย)มีอุปกรณ์ครบ เดินรอบๆๆไม่มีอะไรปิดบังหรือว่างทับ ไม่มีงู ไม่มีหมา ไม่มีเสือหรือ ขโมย อยู่ในห้อง!!!

เมื่อเราเดินเข้าไปห้องปั๊มน้ำไม่หายไปไหน ไม่มีใครเอาของมาวางทับหรือวางใกล้เครื่องสูบน้ำหรือวางขวางทางทำงานไม่สะดวกห้ามมีสัตว์เลี้ยงหรือไม่เลี้ยงอยู่ในห้องอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ หรือเครื่องปั๊มน้ำเสียหาย

2. ตรวจดูตารางการใช้งานเมื่อครั้งที่แล้วปกติหรือไม่ ผู้ใดเป็นผู้ใช้ เครื่องปั๊มน้ำควรมีตารางการทำงานทุกครั้งที่ใช้ ทำให้เรารู้ถึงการใช้งาน การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เวลาการซ่อมบำรุง คำนวนต้นทุนได้ถูกต้อง

3. ตรวจดู น้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื่อเพลิง  น้ำมันหล่อลูกปืนปั๊ม น้ำมันเลี้ยงปั๊มดูดน้ำอัตโนมัติ ให้มีอยู่ในขีดกำหนด และจดความสิ้นเปลืองการใช้เดิมด้วย เป็นเรื่องที่เราต้องให้พนักงานที่ใช้ทำ และเพื่อเป็นข้อมูล


4. ตรวจ น้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำ  น้ำกลั่นแบตเตอรี่ ให้มีอยู่ในขีดกำหนดเสมอ ถ้าน้ำในหม้อน้ำไม่มี หรือรั่วหมด หมายความถึงเครื่องพังนะครับ ส่วนน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ ถ้าขาดแห้งบ่อยๆๆแบตเตอรี่ ก็เสียเร็ว ครับ 


 

   

5. ปิดวาล์วทางส่งน้ำให้เหลือ 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อกันน้ำกระแทกท่อและวาล์วเสียหาย การรี่วาล์ว ทำให้น้ำไม่ไปกระแท็กท่อหลุด แตก เมื่อเราเผลอเร่งเครื่องกระชากเพื่อไล่อากาศในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง


 

6. ลองสตาร์ทเครื่องดู  ว่าหมุนหรือไม่  ถ้าไม่หมุน  ต้องหาสาเหตุแก้ไขก่อน เช่น แบตเตอรี่หาย! หรือไฟหมด! ไดสตาร์ทหาย! ถ้าปกติ  มันเป็นการตรวจอย่างรวดเร็ว ถ้าเราสตาร์ท แล้วเครื่องหมุนนั่นแสดงว่าทุกอย่างอยู่ครบ และพร้อมใช้งาน

7. เราเร่งเครื่องไปที่ 25% ลองสตาร์ทให้เครื่องติดเดินเครื่องเบาๆๆฟังเสียงเครื่องปกติไม่สั่นสะเทือน ปั๊มน้ำจะมีระบบดูดน้ำอัตโนมัติ น้ำจะขึ้นภายใน 60 วินาที และจะตัดการทำงานเมื่อแรงดันน้ำเกิน 3 บาร์  ถ้าปั๊มน้ำไม่มีระบบดูด เราก็ต้องกรอกน้ำก่อนติดเครื่องยนต์

8. เมื่อเครื่องติดแล้วน้ำขึ้นแล้ว เราค่อยๆๆเปิดวาล์วให้สุด แล้วไปเร่งเครื่องช้าๆๆไปถึงรอบใช้งาน  ดูเกจวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง เกจไฟชาร์จ  เกจวัดแรงดันน้ำ เกจวัดแรงดูดเป็นปกติ  เกจวัดแรงดันน้ำต้องขึ้นตามกำหนด เครื่องวิ่งเรียบไม่สะดุด ไม่มีเสียงผิดปกติ ไม่หนักเกินไป



     

9. ห้ามวิ่งเครื่องยนต์รอบช้าจะทำให้ใบพัดแตก เพลาฉีก ปั๊มเสียหาย  เป็นความคิดปกติของคนส่วนมากที่รู้สึกว่า เมื่อเร่งเครื่องมากจะกินน้ำมันจึงพยายามเร่งเครื่องให้น้อยๆๆ ทำให้เครื่องสั่นเดินไม่เรียบ เป็นผลทำให้ร่องลิ่มใบพัดแตก ใบพัดหลุดเสียหาย เป็นส่วนมาก

 


10. ห้ามทดลองเครื่องโดยปั๊มไม่มีน้ำ จะทำให้ซีล หรือบรูสที่เพลาปั๊ม ไหม้เสียหาย อย่างน่าเสียดาย ซื้อปั๊มมาใหม่ก็อยากลอง ติดเครื่องเอามือปิดดูว่ามีลมแรงไหม หรือดูว่ามันหมุนแล้วสั่นไหม ในขณะที่ไม่มีน้ำอยู่ในปั๊ม ถ้าซีลไหม้ซีลอย่างดีก็ตัวละเป็นหมื่น ถ้าเพลากับบรูสไหม้ติดกัน จะทำให้ต้องเปลี่ยนเพลาและบรูสใหม่ ก็หลายหมื่น ครับ

ตัวนี้เพลาไหม้ติดแล้วมอเตอร์ไหม้ด้วย สวนลำใย สอยดาวครับ

 

11. เดินตรวจดูรอบๆๆเครื่องสูบน้ำ ว่าไม่มีเสียงดังผิดปกติ  ไม่มีน้ำหรือน้ำมันเครื่องรั่วไหลออกมาเกินกำหนด  เครื่องยนต์ทำงานอยู่ ให้ตรวจดูเกจวัดความร้อนให้ขึ้นไม่เกิน 90 องศา ไฟชาร์จ ไฟแรงดันน้ำมันเครื่องปกติจะดับ

12. ควรมีพนักงาน คุมเครื่องสูบน้ำขณะเครื่องทำงานดูเกจวัดต่างๆๆการรั่วไหลของน้ำที่แกนปั๊มน้ำ ไม่เกิน 1หยด / วินาที การสั่นสะเทือนและเสียง

13. ก่อนดับเครื่องทุกครั้งต้องค่อยๆๆปิดวาล์วส่งน้ำเพื่อกันน้ำกระแทกทำให้ใบพัดและเพลาปั๊มน้ำเสียหาย   สวิทช์ดับเครื่องอยู่ที่ ข้างๆๆปั๊มเชื้อเพลิง ให้บิดมาทางซ้าย วาล์วจะตัดน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจะดับเอง

14. ลงรายงานการใช้เครื่องสูบน้ำเวลา ปริมาตรน้ำ เชื่อเพลิง ผู้ใช้ปั๊มน้ำ

15. ถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง ทุก 3 เดือน ที่ใช้งาน




16. เป่ากรองอากาศทุก 3 เดือน หรือทุกครั้งที่ถ่ายน้ำมันเครื่อง




17. เปลี่ยนกรองน้ำมันโซล่าทุก 2-4 เดือน




18. ทุก 6 เดือน เปลี่ยนปะเก็นเชือกแกนเพลาปั๊มตัดเป็นวงสับปากไม่ตรงกันเพื่อกันน้ำรั่ว




19. ต้องมีการติดเครื่องทดลองสูบน้ำ ฉีดน้ำวนกลับบ่อ โดยตั้งแรงดันเท่าใช้งานจริงครั้งละ 30 นาทีทุกๆ 15 หรือ 30 วัน

20. ทุก 3 เดือนควรมีการซ้อม ดับเพลิงเหมือนจริงโดยใช้หัวฉีดดับเพลิงที่ ติดตั้งไว้ทุกจุด

21. ทำสมุดรายงานการทำงาน การตรวจงานการซ่อมประจำวัน ประจำเดือน บำรุงรักษา ทำสมุดรายงาน ประจำ 3 เดือน ประจำ 6 เดือน ประจำปี