สุดยอดคำภีร์ คู่มือ เครื่องปั้มน้ำดับเพลิง

เป็นข้อคิดและคำแนะนำการใช้งานเครื่องปั้มน้ำดับเพลิงเพื่อให้เกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด

>>>>>>>>>>>>อ่านต่อเพิ่มเติมคลิกที่นี่ดาวน์โหลดคู่มือ<<<<<<<<<<<<<<<<<<

คู่มือการติดตั้ง


1. เครื่องสูบน้ำจะต้องตั้งอยู่บนพื้นที่แข็งแรงไม่เอียงไม่ทรุด 


                     


      - เคยมีเครื่องที่วางไว้ใกล้บ่อน้ำไหลตกน้ำลงไปก็มี


2. ต้องมีบริเวณว่างๆๆรอบเครื่องสูบน้ำ 1.5 - 2 เมตร เพื่อสะดวกในการทำงาน    2.1 เวลาซ่อมบำรุงสะดวกเช่น เติมน้ำมัน เปลี่ยนกรอง เปลี่ยนอะไหล่ 

เครื่องปั๊มน้ำ

3. ผนังห้องทั้งสี่ด้านต้องโปร่งมีช่องระบายอากาศได้ดี มีคานไว้ยกเครื่องไปซ่อม

 3.1 ถ้าระบายอากาศ ไม่ดี ภายในห้องมีไอเสียปะปน เข้าไป ทำให้เครื่องยนต์ไม่มีแรง ต้องเร่งเครื่อง ทำให้เครื่องกินน้ำมันมากขึ้น  ควรมีคานไว้ยกปั๊มหรือเครื่องไปซ่อม ดีกว่าคนยกอาจตกแตกหักเสียหายได้


 


4. ต้องมีไฟแสงสว่าง ระหว่างทางเดิน หน้าห้อง และภายในห้อง อย่างชัดเจนเมื่อเวลาเกิดไฟไหม้ จะได้รีบมาที่ห้องเครื่องดับเพลิงได้โดยเร็วไม่เสียเวลา

5. ต้องมีป้ายบอกห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงและกระดานตารางแสดงการทำงานเจ้าหน้าที่ดูแล ชม. การทำงาน การซ่อมบำรุง การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทราบการทำงานของปั๊มน้ำ อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องถามใคร

6. ทางเดินไปห้องเครื่องดับเพลิง ต้องสว่าง ห้ามว่างสิ่งของกีดขวางเกะกะทางเดิน และในห้องเครื่องดับเพลิงดับเพลิง……………… เมื่อเกิดไฟไหม้ มีวัสดุกองขวางห้องดับเพลิงกว่าจะย้ายของออกเปิดห้องดับเพลิงได้ ไฟก็ลุกลามไปมากจนดับไม่ได้แล้ว..

7. ประตูห้องต้องกว้างพอที่รถจะบรรทุกเครื่องสูบน้ำไปซ่อมได้โดยไม่ต้องพังข้างฝาทุกครั้ง ประตูห้องเครื่องสูบน้ำควรออกแบบไว้ ให้ใหญ่พอที่ เครื่องสูบน้ำเข้าออกได้สะดวก

8. ห้ามผู้อื่นเข้าห้องดับเพลิง ห้ามหยิบยืมอะไหล่เช่นแบตเตอรี่หรือน้ำมันเชื้อเพลิง ของห้องดับเพลิงเด็ดขาด


    


- เคยมีเหตุเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วเครื่องยนต์ไม่ติดทำงาน เพราะไม่มีน้ำมัน เพราะไม่มีแบ็ตเตอรี่ กุญแจสวิทซ์สต๊าท์เครื่องยนต์หาย เพราะมีคนเข้ามาหยิบยืมไป โดยคิดว่าไม่เกิดเหตุไฟไหม้ง่ายๆๆ


9. เครื่องสูบน้ำต้องติดตั้งใกล้น้ำที่สุด  ความสูงจากน้ำไม่เกิน 4 เมตร ไกลไม่เกิน 12เมตร ท่อทางดูดต้อง โตกว่าทางดูดปั๊มหนึ่งขนาดเสมอ และต่อให้ลาดเอียง 50:1 เพื่อกันอากาศค้างในท่อดูด

9.1 ถ้าตั้งเครื่องสูบน้ำอยู่ไกลจากบ่อน้ำหลายสิบเมตร  ระดับน้ำลึกเกิน 4 เมตร ทำให้ดูดน้ำได้ช้าหรือน้ำไม่ขึ้น ไฟก็ไหม้หมดแล้ว

10. ท่อทางดูดห้ามต่อโค้งขึ้นโค้งลงข้ามคันดินข้ามถนนทำไห้มีอากาศขังในท่อทำให้น้ำขึ้นน้อยหรือไม่ขึ้น

10.1 การต่อท่อทางดูดปั๊มน้ำต้องไม่รั่ว 100% น้ำจึงจะขึ้นดี

11. ท่อทางดูดห้ามมีท่อแยกดูดสองทาง มีวาล์วปิดเปิดอาจลืมเปิดหรือเปิดผิดวาล์วทำให้มีอากาศรั่วจากท่อจากวาล์วทำให้น้ำไม่ขึ้น ระบบดับเพลิงไม่ทำงาน อันตรายมาก

11.1 เมื่อเกิดเพลิงไหม้เวลาที่รวดเร็วที่จะนำน้ำมาดับเพลิงเป็นสิ่งสำคัญควรลดขั้นตอนการทำงานให้น้อยที่สุดดังนั้นไม่ควรมีวาล์วทางดูดเพื่อกันความผิดพลาด

12. หัวกระโหลกต้องโตกว่าท่อหนึ่งขนาด เป็นแบบบานพับ ถ้าเป็นแบบสปริงต้องโต กว่าสองขนาดเสมอเพื่อให้น้ำไหลเข้าดี


 


12.1 ไม่ควรใช้กะโหลกแบบสปริงเพราะน้ำไหลเข้าไม่ดีทำให้น้ำออกน้อยหรือไม่แรง

13. ท่อทางดูด ต้องมีกรองกันขยะเข้าปั๊มน้ำ ซึ่งทำให้น้ำเข้าน้อย ใบพัดปั๊มน้ำจะแตกหักเสียหาย เรียกว่าวายแสตนเนอร์


 


13.1 เคยมีรองเท้าแตะ ผ้าขม้า เศษเหล็กเข้าไปในใบพัดปั๊มน้ำทำให้ปั๊มชำรุดเสียหาย

14. ท่อทางดูดต้องมีข้ออ่อนยาง  กันท่อที่หนักและน้ำในท่อทับปั๊มน้ำทำให้แตกเสียหาย


     


    


14.1 นอกจากนี้ยังทำให้ ปั๊มเสื้อแตก ขาหัก ยอยฉีก เพลาปั๊มขาด ล้วนเกิดจากเหตุนี้ทั้งสิ้น

15. ท่อทางส่งน้ำต้องมีวาล์วไล่อากาศ วาล์วปิดน้ำก่อนเดินเครื่อง และวาล์วกันกลับกันน้ำกระแทกปั๊ม

15.1 เมื่อมีอากาศค้างอยู่ในปั๊มในท่อบางส่วนไปกันน้ำให้ไหลไม่สะดวกทำให้น้ำไม่แรง จึงต้องมีวาล์วไล่อากาศตัวนี้ระบายอากาศออกไปน้ำจึงจะแรง

16. ห้ามใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงไปถ่ายน้ำหรือรดน้ำต้นไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเมื่อเกิดเพลิงไหม้จริงแล้วไม่มีน้ำ หรือเครื่องไม่ทำงาน

16.1 เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วเครื่องไม่ติด หรือน้ำมันหมด ไฟก็ไหม้หมดแล้ว

17. บ่อน้ำดับเพลิงต้องกันไว้ 30-50 M3 ห้ามใช้ไปทางอื่น มีตัวอย่างเกิดเพลิงไหม้น้ำบ่อดับเพลิงไม่มีน้ำ!!!

17.1 ควรกันไว้เป็นพิเศษห้ามใช้น้ำบ่อนี้อย่างเด็ดขาดจะเกิดเพลิงไหม้เมื่อไหร่เราไม่รู้เราไม่สามารถเตรียมน้ำได้ทันใน 5 นาทีก็หมดแล้ว

18. ห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงต้องแยกห่างจากอาคารใหญ่ หรืออาคารที่มีเชื้อเพลิง เมื่อเกิดไฟไหม้ไกล้หรือติดห้องดับเพลิง ไม่สามารถไปใช้เครื่องดับเพลิงได้ 


 


- เมื่อหลายปีก่อนเกิดแท็งค์เก็บน้ำมันที่โรงกลั่นภาคตะวันออกเกิดไฟไหม้  ได้รับความเสียหายมากมายมีสาเหตุหนึ่งก็คือรถดับเพลิงและเคมีดับเพลิงอยู่ในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ไม่สามารถเอารถดับเพลิงและเคมีดับเพลิงออกมาใช้ได้เพราถูกไฟไหม้หมดนั่นเอง

19. ต้องมีพนักงานที่มีความรู้ ผ่านการอบรมเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 2 คน  ทดลองติดเครื่องใช้งานจริง อย่างน้อยเดือนละครั้ง

19.1.เมื่อพนักงานใช้เครื่องดับเพลิงไม่เป็น ก็เหมือนไม่มีเครื่องดับเพลิงนั่นเอง

20. ตรวจดูน้ำมันเชื้อเพลิงให้เต็มอยู่เสมอ น้ำมันเครื่องให้อยู่ในขีดเต็ม น้ำกลั่นในแบตเตอรี่เต็มขีดบนสุด มีหม้อแปลงอัดไฟให้กับแบตเตอรี่วันละ1ชม.


  




20.2. เป็นเรื่องของความพร้อมในทุกอย่างที่ต้องใช้งานดับเพลิง เพราะเราไม่รู้ว่ามันจะเกิดเมื่อไร

21. เมื่อจะซ่อมเครื่องยนต์เช่นถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนกรอง เปลี่ยนสายพาน หรือปะเก็นแกนปั๊มต้องทำให้เสร็จในวันเดียว!!! ห้ามค้างคืนเพราะเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้เกิดความเสียหาย กับบริษัทมากมาย


     




21.1 เคยมีเหตุที่พนักงานถ่ายน้ำมันเครื่องดับเพลิง แล้วไปเปิดน้ำมันที่สโตร์ พอดีน้ำมันหมด บอกว่าพรุ้งนี้มาเอา คืนนั้นเกิดเพลิงไหม้ เครื่องดับเพลิงนั้นก็มีคนมาติดเพื่อใช้ดับเพลิง เพียง10นาที เครื่องยนต์ก็นอค์ดับเครื่องก็พังไฟก็ไหม้บริษัททั้งหมด......


     




22. เปลี่ยนอะไหล่ตามอายุที่กำหนดเช่น แบตเตอรี่ น้ำมันเครื่อง น้ำมันในห้องลูกปืนปั๊ม ไส้กรองน้ำมันเครื่อง กรองน้ำมันโซล่า ไส้กรองอากาศ

22.1 เรื่องอะไหล่ เช่นถ่านน้ำมันเครื่อง หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ควรเปลี่ยนตามเวลาเช่น  แบตเตอรี่ถึงจะมีไฟอยู่บ้าง แต่ไม่สมบูรณ์ก็ต้องเปลี่ยนทิ้ง เพราะถ้าเกิดเพลิงไหม้แล้วเครื่องไม่ติดเพราะแบตมีไฟอ่อน มันไม่คุ้มกันเลยครับ

                       

∞∞∞∞จบขั้นตอนของการติดตั้ง บำรุงรักษา∞∞∞∞


ตอนต่อไปเป็นการเริ่มต้นการใช้งานครับ โปรดติดตามครับ